เพราะพฤติกรรมในการทำงาน รวมไปถึงสภาพเเวดล้อมในการทำงาน ทำให้เราละเลยอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับเรา คือ อาการออฟฟิศซินโดรม ปัญหาเหล่านี้ เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง คือการกปรับพฤติกรรมในที่ทำงาน
ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น นั่งทำงานต่อเนื่องกับคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออริยาบท จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจพบร่วมกับอาการชาบริเวณแขน, มือ และปลายนิ้ว เนื่องเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับอย่าง
อาการที่เป็นมีอะไรบ้าง
- ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วยมีลักษณะอาการปวดล้าๆ ระดับความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก
- อาการของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งพบร่วมได้ เช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ ซีด ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่า
- อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป
ซึ่งอาการเหล่านี้ดูจะไม่รุนแรงแต่ถ้าปล่อยไว้ในระยะยาวอาจไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพเราในอนาคต ทางออกที่ดีควรได้รับการรักษาโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาการปวดกล้ามเนื้อเพื่อพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม
- ออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการ เช่น การยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น การออกกำลังเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยต้องอาศัยความใส่ใจและความสม่ำเสมอ
- ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการยืดเหยียดหรือเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุกๆ 1 ชั่วโมง
อ้างอิงที่มาจาก
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/696