โรครองช้ำ
อาการที่จู่ ๆ ก็เกิดอาการเจ็บฝ่าเท้า ส้นเท้าโดยไม่ทราบสาเหตุ คิดว่าปล่อยทิ้งไว้เดี๋ยวก็หายเอง แต่ทว่ายิ่งนานวันเข้ากลับยิ่งทำให้เดินไม่สะดวก ตื่นเช้าเกิดขึ้นเมื่อลุกเดินก้าวแรกตอนตื่นนอนคุณอาจกำลังประสบกับภาวะพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ(Plantar fasciitisแต่ละทีก็เจ็บแทบเดินไม่ไหว เพราะสัญญาณเหล่านี้กำลังบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น (โรครองช้ำ )
ปัจจัยที่มักทำให้เกิดโรครองช้ำ
- น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
- การยืนหรือเดินเป็นเวลานานๆ
- การวิ่งหรือเดินบนพื้นแข็งโดยใส่รองเท้าที่มีพื้นบางเกินไป
- การเดิน/วิ่งโดยกระแทกส้นเท้าลงพื้นแรงเกินไป
- ปัจจัยทางโครงสร้างร่างกาย ที่เกิดข้นเอง เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งสูง หรืออาการเอ็นร้อยหวายยืด
- การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ
- โรครองช้ำเป็นอาการที่สามารถหายเองได้ หากเท้าของคุณมีการพักอย่างเพียงพอ
- เราจึงควรหา รองเท้าสุขภาพ ดีๆ ที่สามารถรองรับแรงกระแทกเวลาเดินได้ดีมาใส่ซักคู่ เป็นการป้องกันอาการปวดส้นเท้าไม่ให้กลับมาทำให้เราเจ็บอีก
วิธีการรักษาอาการปวดเท้า
- การยืดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อน่องโดยต้องยืดอย่างช้าๆ ด้วยแรงที่คงที่ ทำ 3 ช่วงเวลา/วัน 5 ครั้ง/ช่วงเวลา และ 15-20 วินาที/ครั้ง เพิ่มเติมคลิก https://healthserv.net/7274
- การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเท้า การหยิบผ้าขนหนูด้วยนิ้วเท้า วางผ้าขนหนูผืนเล็กลงบนพื้น จากนั้นใช้นิ้วเท้าขยุ้มผ้าขนหนู ทำซ้ำ 10 ครั้ง 1-2 ครั้ง/วัน
- การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อลดการอักเสบและลดปวด ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์
- การใช้อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้า (foot orthosis) เพื่อปรับอุ้งเท้าให้ปกติหรือรองรับแรงกระแทกต่อฝ่าเท้า
- การกินยาหรือฉีดยาลดปวดบริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้า
ทั้งนี้การรักษาโรคนี้จะหายได้เองถ้าเราจักดูแลเท้า และเลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิต ประจำวันของเรา เพราะถึงแม้ดูเหมือนจะไม่ได้อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้ หากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
เท้าของคุณเป็นลักษณะแบบไหน ?
- เท้าปกติ(อุ้งเท้าปกติ Normal feet) เป็นลักษณะของคนที่มีอุ้งเท้าพอดี ทำให้การเดินและการเคลื่อนไหวของคุณเป็นไปอย่างธรรมชาติ ลักษณะแบบนี้พบได้มากที่สุดไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องอาการเจ็บหรือเมื่อย
- เท้าแบน (อุ้งเท้าแบน Flat arch feet) ลักษณะเท้าแบบนี้จะพบได้บ่อย รองลงมาประมาณ 10%-20% โดยลักษณะนี้จะมีอุ้งเท้ามากจนมีลักษณะแบน แสดงถึงระบบการรับแรงกระแทกของเท้าไม่ดี จึงมีผลทำให้ข้อเท้าและหัวเข่าต้องรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในขณะเดินหรือวิ่งมากกว่าที่ควร ส่วนใหญ่จะมีปัญหาปวดเมือยเมื่อเดิน หรือวิ่งนานโดยเฉพาะปวดบริเวณอุ้งฝ่าเท้า กระดูกฝ่าเท้าหรือเอ็นฝ่าเท้า
- เท้าเว้า (อุ้งเท้าสูง High Arch feet) ลักษณะเท้าแบบนี้อาจพบอาการร่วมกับเท้าเอียงออกด้านนอกมากกว่าปกติ ขณะเดินหรือวิ่ง ลักษณะอุ้งเท้าที่สูงเกิดจากเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้ามีการหดรั้งและตึงมากเกินไปทำให้ระบบการยืดหยุ่นและรับแรงกระแทกของเท้าไม่เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องของรูปโครงกระดูกที่ผิดรูป จึงอาจมีลักษณะของนิ้วเท้างอ และเสื่อมของข้อภายในได้ง่าย
คุณสมบัติของการเลือกรองเท้าสุขภาพ
การแก้ไขอาการปวดเท้าจากการสวมใส่รองเท้าที่ดีที่สุดคือการเลือกสวมรองเท้าที่ “เหมาะสมกับลักษณะเท้าของแต่ละบุคคล
พื้นรองเท้าบริเวณส้นเท้า มีความสามารถในการรองรับแรงกระแทก (shock absorption) ที่ดี พื้นรองเท้าควรมีความหนาพอสมควร และมีความนุ่มที่แน่นกระชับกำลังดี (ไม่ยวบย้วยจนเดินแล้วรู้สึกไม่มั่นคง) ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า พื้นของรองเท้าสุขภาพที่ดี ควรมีความนุ่มที่พอเหมาะ ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า ก็คือตรงกลางพื้นรองเท้าที่นูนขึ้นมารองรับส่วนเว้าของฝ่าเท้า หน้าที่ช่วยกระ จายน้ำหนักของร่างกายไปทั่วฝ่าเท้า
รองเท้ามีผลกับเท้าโดยตรง เราจึงควรเอาใจใส่เลือกรองเท้าที่ใส่ เพราะเวลาที่คุณเดิน หรือวิ่งเยอะ ๆ หรือออกกำลังกายหนัก ๆ การใส่รองเท้าที่ไม่สบาย ทำให้เมื่อยเท้าแล้ว ยังทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมาอีกด้วย เพราะฉะนั้นหันมาเลือกซื้อรองเท้าให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อสุขภาพของตัวเองจะดีกว่า
อ้างอิงที่มาจาก
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/606
https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4